เกี่ยวกับศูนย์วิทยบริการ
เกี่ยวกับศูนย์วิทยบริการ
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มีวิวัฒนาการจากแนวความคิดของอาจารย์ดร. ณรงค์ มงคลวณิช และสานต่อโดยท่านประธานกรรมการบริหาร ตั้งแต่ปี 2508 จากสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่ให้บริการความรู้ทางด้านช่างอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ภายใต้ชื่อว่า "โรงเรียนช่างกลสยาม" และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม" จนถึงปัจจุบัน จนในปี2548ได้มีการจัดตั้ง "วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม" ขึ้น และเริ่มเปิดดำเนินการในปี พ.ศ. 2549เพื่อสานต่อปณิธานของ อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช และสานต่อความต้องการของสังคมในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและวุฒิภาวะที่สูงขึ้นศูนย์วิทยบริการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม จัดตั้งขึ้นพร้อมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เพื่อเป็นหน่วยงานสนับสนุนการบริการทางด้านวิชาการ มีหน้าที่หลักในการแสวงหา รวบรวม พัฒนาสารสนเทศให้สอดคล้องกับนโยบายของวิทยาลัย โดยมีโครงสร้างการบริหารงาน 6 งานหลัก ประกอบด้วย งานบริหาร งานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ งานวารสาร งานบริการสารสนเทศ และงานเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 9 ชั้น 3) มีการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Digital librarian มาใช้ในปี2552 เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน การศึกษาค้นคว้า และมีฐานะเป็นห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ได้มาตรฐานทัดเทียมกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่นๆ
ปรัชญา
"ส่งเสริมกลจักรความรู้ มุ่งสู่วิชาการ การบริการเลิศล่ำ"ปณิธาน
"ศูนย์วิทยบริการมุ่งเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ในด้านวิชาการ แสวงหาสารสนเทศที่ทันสมัย ใส่ใจงานบริการ สร้างสรรค์กิจกรรม ก้าวล้ำเทคโนโลยี "วิสัยทัศน์
"ส่งเสริมศูนย์วิทยบริการเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่แท้จริงของวิทยาลัย สนับสนุนงานด้านวิชาการแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ให้ก้าวหน้าสู่ระดับสากล ด้วยบริการที่ดีมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย "พันธกิจ
- 1.แสวงหาจัดเก็บ และเผยแพร่ทรัพยากรสารสนเทศที่ทันสมัยสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนไว้บริการแก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรภายในวิทยาลัย ร่วมถึงประชาชนทั่วไป
- 2.จัดระบบการให้บริการที่มีมาตรฐานด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เอื้ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ
- 3.บริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
- 4.จัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
- 5.ส่งเสริมและสนับสนุนการอ่านและการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองให้แก่อาจารย์ นักศึกษา และ บุคลากร หรือบุคคลที่สนใจ
- 6.พัฒนาหอสมุดให้มีความทันสมัยและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม